พูดคุยกันได้ที่
พูดคุยกันได้ที่ : https://www.facebook.com/atravelerblog/
IG: A_Traveler_Blog
Twitter: A Traveler Blog
1. จุดเริ่มต้นของการเดินทางสู่ยุโรป
ทริปนี้จริงๆไม่ได้วางแผนว่าจะไป แต่เนื่องจากคนบ้าคนหนึ่งนั่งเช็คราคาตั๋วเครื่องบิน คาดการณ์ว่าน่าจะเป็นโรคชอบเที่ยวขึ้นสมอง สายตาคู่น้อยคู่นี้สอดส่องไปเจอตั๋วโปรโมชั่นของสายการบิน Oman Air ขุ่นพร่ะ!!!!! 9,590 เส้นทาง กัวลาลัมเปอร์-แฟรงต์เฟิร์ต, มิลาน-กรุงเทพ มือสั่นกระสับกระส่าย ความดันขึ้น ใครจะไปกับเราบ้างในหัวเริ่มคิดจะมีใครไปมั้ยๆๆๆๆ ไม่มีใครตอบๆๆๆๆ ต้องรีบไม่งั้นหมด
“คุณต้องการยืนยันข้อมูลหรือไม่” เสียงนิ้วชี้จิ้มลงบนแป้นพิมพ์ Cofirm Booking มีตั๋วไว้อุ่นใจค่ะ 555 ซื้อตั๋ว กทม.- กัวลาลัมเปอร์เพิ่มอีก 1,400 บาท สิริรวมราคาแล้วก็ 10,990 บาท ก็ยังถูกกกกกกกกก คือจองวันสุดท้ายของโปรโมชั่นพอดิบพอดี ณ จุดนี้สมาชิกค่อยว่ากัน ขอฉันมีตั๋วไว้ก่อน
2. วีซ่าแชงเก้น
เชงเก้นวีซ่า (Schengen Visa) คือวีซ่าที่สามารถใช้ร่วมกันในกลุ่มประเทศเชงเก้นซึ่งประกอบด้วยประเทศในกลุ่มยุโรป 22 ประเทศ และประเทศในพื้นที่ใกล้เคียงอีก 4 ประเทศ เชงเก้นวีซ่านี้ช่วยอำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยวที่ต้องการไปเที่ยวประเทศในกลุ่มยุโรปหลายๆ ประเทศในทริปเดียว โดยไม่ต้องไล่ขอวีซ่าทีละประเทศ ได้แก่ ออสเตรีย, เบลเยี่ยม, สาธารณรัฐเชก, เดนมาร์ค, เอสโตเนีย, ฟินแลนด์, ฝรั่งเศส, เยอรมัน, กรีซ, ฮังการี, ไอซ์แลนด์, อิตาลี, ลัตเวีย, ลิกเทนสไตน์, ลิทัวเนีย, ลักแซมเบิร์ก, มอลต้า, เนเธอร์แลนด์, โปแลนด์, นอร์เวย์, โปรตุเกส, สโลวีเนีย, สโลวาเกีย, สเปน, สวีเดน และ สวิสเซอร์แลนด์
**ข้อควรระวังสำหรับผู้ที่วางแผนจะไปทริปยุโรป** ยังมีอีก 4 ประเทศในสหภาพยุโรปที่ไม่ได้รวมอยู่ในกลุ่มเชงเก้น ได้แก่ สหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์ บัลแกเรีย และ โรมาเนีย ที่ยังต้องขอวีซ่าแยกอยู่ ดังนั้นก่อนจะเดินทางอย่าลืมตรวจเช็คประเทศที่จะไปให้ดีๆก่อนนะคะ
โดยตอนที่เราไปนั้นเรายื่นที่สถานทูตเยอรมันค่ะ รายละเอียดตาม link นี้เลย พี่แกให้วันเดินทางมาแบบเป๊ะมาก ไปกี่วันได้มาแค่นั้นไม่มีขาดไม่มีเกิน
https://iamatravellers.com/2016/02/02/วีซ่าเยอรมัน-ไม่ยากอย่/
3. ประกันการเดินทาง
มีให้เลือกหลายบริษัทมากราคาแตกต่างกันออกไป สำหรับเราไม่เน้นผลประโยชน์มากนักแค่ขอให้ขอวีซ่าได้เป็นพอ โดยเราเลือกของ Cigna ค่ะ ราคาประมาณ 607 บาท (ประกันเดินทาง 473 บาท + ประกันเที่ยวบินดีเลย์ 109 บาท+ประกันกระเป๋า 25 บาท) ถือว่าราคาโอเคมาก คุ้มค่ากับราคา ส่วนรายละเอียดของแต่ละที่เรา list มาให้ลองเลือกกันดูนะคะว่าโดนในราคาไหนกัน
https://www.aig.co.th/en/travel-premium-calculator
http://www.muangthaiinsurance.com/th/insurance/travel/enjoytravel
https://direct.axa.co.th/TA/ConverOptionPlan
https://www.msig-thai.com/ecommerce/plan.php?lang=th&
https://travel.cigna.co.th/CIMS/#/insurance/plan
**แนะนำให้ซื้อประกันเครื่องบินดีเลย์ และ กระเป๋า เพิ่มเพราะต้องจ่ายเพิ่มอีกนิดหน่อย เราก็จะได้ความมั่นใจมากขึ้น
4. ตั๋วเครื่องบิน
เป็นปัจจัยหลักของการตัดสินใจว่าจะไปเที่ยวที่ไหนดีสำหรับเรา เพราะว่าบางทริปที่แพลนไว้ว่าจะไปดันไม่ได้ไปเนื่องจากสู้ราคาไม่ไหว แต่บางทริปไม่คิดไม่ฝันว่าจะไปดันได้ไปซะงั้น และทริปนี้ก็เช่นกัน ช่องทางการหาตั๋วเครื่องบินหลักหลักของเราคือ
Expedia หลากหลายสายการบินให้เลือก โดยส่วนใหญ่จะแสดงเส้นทางไป-กลับเป็นสายการบินเดียวกัน หรือให้เราเลือกสายการบินขาไป และ ขากลับตามราคาที่เราพอใจ
Skyscanner จะแสดงสายการบิน เวลาบิน หลากหลาย จับคู่กันให้เราเลือกเลย พร้อมราคา สะดวกดี
(แต่บางครั้งเราจะเห็นว่าราคาตั๋วจะถูกว่าเวปอื่นๆ ให้ตรวจสอบหลายๆเวปเพื่อเช็คราคาก่อน หรือตรวจสอบจากเวปหลัก เพราะเราเคยจองของเวปนี้เส้นทาง กรุงเทพ-สิงคโปร์ เช็คราคาถูกว่าเวปอื่นก็จริง เราตัดสินใจจองและระบบทำการตัดบัตรเครดิตเรียบร้อยแล้ว โดยจอง 5 ที่ ราคา 6xxx บาท booking Confirm เรียร้อย ซักพักมีเมลล์แจ้งมาว่าให้เราจ่ายเงินเพิ่ม อีก 7xxx บาท ประมาณนี้ เนื่องจากราคาตั๋วขึ้นราคาแล้ว งงค่ะ ระบบไม่ได้ตรวจสอบก่อนจะจ่ายเงินรึ เราตอบเมลล์กลับว่าไม่จ่าย และยืนยันราคานี้ แต่ไม่ได้แจ้งมาว่าต้องจ่ายเพิ่มเท่านั้น เราเลยขอยกเลิกและขอเงินคืนค่ะ เสียดายมากอุตส่าห์นั่งหากว่าจะได้ตั๋วราคถูก)
CheapTicket เหมือน Expedia
eBookers เหมือน Expedia
Traveloka เหมือน Expedia
เวปไซ์ตรงของสายการบิน
เพจที่แจ้งโปรโมชั่นตั๋วเครื่องบินต่างๆค่ะ เช่น อาแปะ, ติดโปร, เพื่อนบอกโปร ช่วยเรามาหลายทริปแล้ว
โดยเส้นทางส่วนใหญ่ที่เราเลือกเป็นเส้นทาง Multiple ไม่ได้เลือกออกจากประเทศไทยโดยตรง เพราะเส้นทางขาออกที่มักจะมีตั๋วโปรโมชั่นได้แก่ กัวลาลัมเปอร์ สิงคโปร์ ฮ่องกง เป็นต้น เพราะหากออกจากกรุงเทพโดยตรงราคาค่อนข้างสูง และมักจะมีตั๋วโปรโมชั่นมาให้เห็นนานๆที เราคิดว่ายอมเหนื่อยหน่อยแล้วเก็บเงินส่วนต่างไปเป็นค่าที่พัก หรือ ค่าช้อปปิ้งจะดีกว่า โดยเฉพาะของ Expedia ที่ให้ราคาดีงามแก่เรามาหลายครั้งแล้วชอบมาก (ค่าโฆษณาไม่ได้แม้แต่บาทเดียว) แต่หากใครสู้ราคาบินตรงไหวก็ลุยโลดค่ะ
ส่วนเราคิดว่ายอมเดินทางเหนื่อยขาไปหน่อยเพราะยังคึกอยู่ แต่ขากลับบินตรงกลับบ้านยาวๆ สลบ แข้งมาอ่อนแรงก็ยังโอเค
*เรื่องการจองตั๋วเครื่องบินเราว่า “ความไวเป็นเรื่องของปีศาจ” เราแนะนำว่าให้ท่อง เลข Passport เลขบัตรเครดิต เดือนปีที่หมดอายุ และ เลข cvv หลังบัตรไว้ค่ะ เพราะเมื่อไหร่ที่คุณเจอตั๋วราคาดีงาม สมองคุณจะทำงานอัตโนมัติ ศึกนี้ใครดีใครได้ค่ะ เราต้องสู้*
เพิ่มเติมคือ การจองผ่าน Expedia จะสามารถใส่ชื่อได้ไม่เกิน 30 ตัวอักษรนะคะ หากใครชื่อยาวจะมีปัญหาตอนออกตั๋วเพราะชื่อจะไม่ตรงกับพาสปอร์ส เพราะตั๋วทาง Expedia จะเป็นคนออกให้เรา วิธีแก้คือให้โทรไปแจ้งกับสายการบินอีกครั้งเพื่อแจ้งชื่อที่ถูกต้องค่ะ โดยสายการบินจะบันทึกข้อมูลชื่อของเราเข้าไปในระบบ พอเราเช็คอินจะได้ไม่มีปัญหาค่ะ
เทคนิคการเลือกตั๋วเครื่องบินและช่วงเวลาบิน
- สำรวจงบประมาณของตัวเองว่าเพียงพอที่จะใช้บริการสายการบินนั้นหรือไม่
- เมื่อเลือกสายการบินได้แล้วให้เลือกช่วงเวลาที่จะเดินทางทั้งเวลาที่ออกจากเมืองไทย และ กลับจากยุโรป รวมถึงระยะเวลาในการเปลี่ยนเครื่องด้วย โดยขาไปอาจจะเลือกช่วงเวลาบินกลางคืน ถึงที่นู่นตอนเช้าแล้วเที่ยวเลย ส่วนขากลับให้เลือกเที่ยวบินตอนกลางคืน เพราะจะได้เก็บตกวันสุดท้ายได้ด้วย
- ดูความคุ้มค่าที่จะได้รับระหว่างการเดินทางบนเครื่องบิน หรือ สิ่งอำนวยความสะดวก อาหาร เครื่องดื่ม นั่นเอง
5. ที่พัก
ในส่วนนี้ขึ้นกับงบประมาณของนักเดินทางว่ารับได้ที่ราคาไหน สำหรับเราแล้วเราเลือกที่พักราคาประหยัดแต่ไม่ถึงกับประหยัดมาก ที่พักสะอาด เดินทางสะดวก ใกล้สถานีรถไฟ หรือจุดขึ้นรถบัส สำหรับการเดินทางระหว่างเมืองจะได้ไม่ต้องแบกของหนัก และ เดินไกล โดยที่พักสำหรับทริปนี้ที่เราใช้บริการผ่าน
booking.com สะดวกมาก สามารถยกเลิกได้ เหมาะสำหรับการจองเพื่อขอวีซ่าอย่างยิ่ง หากวีซ่าผ่านแล้วค่อยมาตัดสินใจอีกครั้งว่าจะเปลี่ยนหรือไม่ เพราะการจองแบบ Free Refundable นั้นราคาจะแพงกว่าการจองแบบ Non-Refundable
Agoda ที่พักบางที่ของเวปนี้ราคาจะถูกว่า booking.com โดยส่วนใหญ่แล้วจะยกเลิกไม่ค่อยได้ แต่อยากให้ดูเพื่อเปรียบเทียบราคา เพราะหากมั่นใจแล้วว่าวีซ่าผ่าน และจะพักที่นี่ก็จองโลด จะทำให้ประหยัดเงินไปได้ส่วนหนึ่ง ราคาจะต่างกันไม่ค่อยเยอะเท่าไหร่ จะถูกกว่าประมาณหลักร้อย
Airbnb ส่วนใหญ่เป็นที่พักแบบบ้าน เกสต์เฮ้าส์ คอนโดให้เช่า อาจจะมีเจ้าของอยู่ด้วยแล้วแบ่งห้องให้เช่า ราคาค่อนข้างถูกว่าโรงแรม อารมณ์เหมือนไปเยี่ยมเยียนบ้านเค้า รู้สึกเกร็งบ้างบางครั้ง ไม่เหมือนนอนโรงแรม หรือ เกสต์เฮ้าส์ส่วนตัว ข้อดีคือ เรามีคนที่สามารถถามได้เนื่องจากเป็นคนพื้นที่ ได้เพื่อนใหม่
ส่วนเวป หรือ App อื่นๆที่อยากจะแนะนำก็จะมี
-HostelBookers
-TripAdvisor
-Orbitz
-Hotel.com
-Hostelworld
-Hotel Search
-Expedia
-Traveloka
-ebookers
-Hotelcombined
-Hoteltravel
6. เงินๆทองๆ
เงินสด – มีหลายคนสงสัยว่าต้องพกเงินสดไปเท่าไหร่จึงจะพอสำหรับค่าใช้จ่ายในทริปนั้น เราว่าขึ้นอยู่กับคนมากกว่าค่ะว่าต้องการใช้มากหรือน้อย สำหรับเราเงินสดที่แลกไปใช้สำหรับค่ากินเป็นส่วนใหญ่เนื่องจากก่อนจะเดินทาง ค่าตั๋วเครื่องบิน ที่พัก รวมถึงตั๋วรถไฟ รถบัสนั้นเราได้ทำการจองผ่านบัตรเครดิตไปเรียบร้อยแล้ว อีกอย่างเราคิดว่าการแลกเงินไปเยอะๆนั้นการเกิดอันตรายได้ เราจึงใช้วิธีการพกบัตรเครดิตไปแทนค่ะ แลกเงินไปจำนวนหนึ่งที่คิดว่าต้องใช้จริงๆ ทริปนี้เราจึงแลกไปประมาณ 50,000 บาท
บัตรเครดิต – เป็นสิ่งที่จำเป็น พกพาง่าย และ ใช้จ่ายสะดวกไม่ต้องกลัวเงินหาย สำหรับการเดินทางต่างประเทศเราจะพกบัตรเครดิตไปด้วยประมาณ 1-2 ใบ เนื่องจากเราเป็นคนชอบเดินทางบัตรเครดิตที่เราใช้จึงเป็นบัตรเครดิตที่สะสมไมล์เพื่อเก็บไว้แลกตั๋วเครื่องบิน ได้ของ ได้เที่ยว และ ได้ตั๋วฟรี มันคุ้มมาก แต่การรูดผ่านบัตรเครดิตนั้นระบบจะคิด Rate อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่รูด ซึ่งอาจจะแพงกว่าการจ่ายด้วยเงินสด โดยตอนนี้มีบัตรเครดิตของหลายธนาคารเลยที่ให้สะสมไมล์ เช่น
บัตรเครดิตของธนาคารกรุงเทพ ใช้สะสมไมล์ของแอร์เอเชีย ใช้จ่ายผ่านบัตร 20 บาท ได้ 1 Big Point
บัตรเครดิตธนาคารกรุงไทย หรือ KTC Royal Orchid Plus ฟรีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปีตลอดชีพ
-ทุก 25 บาท = 1 คะแนนสะสม KTC ROP ของบัตรเครดิต KTC – Royal Orchid Plus เพื่อใช้แลกเป็น รอยัล ออร์คิด พลัส ไมล์เท่านั้น
-2 คะแนนสะสม KTC ROP = 1 รอยัล ออร์คิด พลัส ไมล์
บัตรเครดิตกสิกรไทย
-ทุก 25 บาท = 1 คะแนนสะสม K-Bank Reward Point
-2 คะแนนสะสม K-Bank Reward Point = 1 รอยัล ออร์คิด พลัส ไมล์
บัตรเครดิต Citibank
ทุก 20 บาท รับ 1 คะแนนสะสม ซิตี้รีวอร์ด สามารถแลกรับ 1 ไมล์สะสม คุ้มโคตรๆ
**ยังคงไม่ได้ค่าโฆษณาแต่อย่างใด แต่เห็นว่ามีประโยชน์สำหรับนักเดินทางเลยเอามาแชร์**
-บัตรเดบิต
สำหรับคนที่ไม่มีบัตรเครดิต แต่ไม่อยากจะพกเงินสดในการเดินทาง สามารถพกบัตรเดบิตไปแทนได้ค่ะ โดยบัตรเดบิตสามารถใช้รูดได้เหมือนบัตรเครดิตเลย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นกับวงเงินของบัตร และ เงื่อนไขการถอนเงินในแต่ละวันของธนาคารนั้นๆ โดยการรูด ธนาคารจะคิดอัตราแลกเปลี่ยน ณ ปัจจุบัน ส่วนการกดเงินก็เช่นกัน แต่การกดเงินผ่านบัตรเดบิตนั้นจะเสียค่าธรรมเนียมในการกดประมาณ 100-200 บาท ขึ้นอยู่กับธนาคาร อย่าลืมอีกอย่างก่อนไปแจ้งธนาคารเจ้าของบัตรด้วยนะคะว่าจะไปใช้งานในต่างประเทศเพราะหากไม่แจ้ง ทางธนาคารอาจคิดว่าบัตรโดนขโมยและะงับการใช้งานได้
บัตรคิงเพาว์เวอร์ เอาไว้นั่งเล้าจ์กินกาแฟ จิบชา ทานของหวานระหว่างรอขึ้นเครื่อง หรือ ใช้เป็นส่วนลดซื้อของดิตี้ฟรี เวลาไม่ได้ซื้อของกลับมาจากเมืองนอก แวะซื้อที่นี่ก็ได้จะได้ไม่ต้องแบก
7. เช็คลิสต์การเดินทาง
-พาสปอร์ต ควรมีอายุมากกว่า 6 เดือน เราเป็นคนหนึ่งที่ชอบใส่ซองหุ้มพาสปอร์ตไว้ จำไว้ว่าตอนที่จะเข้าเครื่องสแกนให้ถอดออกก่อนนะคะ เพราะถ้าไม่ถอดเครื่องมันจะไม่อ่าน เนื่องจากมันจะไม่พอดีกับเครื่อง
-เสื้อผ้า รองเท้า ให้เหมาะกับสภาพอากาศ เป็นชุดที่เราใส่สบายสามารถเดินได้ทั้งวัน เราชอบเครียมรองเท้าแตะไปด้วยเอาไว้ใส่ตอนกลางคืนเวลาเดินออกมาด้านนอก หรือ เดินภายในที่พัก จะได้ไม่ต้องสวมรองเท้าผ้าใบตลอดเวลา
-หัวปลั๊กไฟ ที่ยุโรปจะใช้หัวปลั๊กไฟกลมๆ 2 ขา ตามภาพนี้ค่ะ ให้เตรียมไปด้วย หรือจะไปซื้อที่นู่นก็ได้แต่ราคาจะแพงกว่าบ้านเรานิดนึง
-ยาประจำตัว เป็นอะไรที่สำคัญมากสำหรับคนที่มีโรคประจำตัว (ควรมีฉลากเป็นภาษาอังกฤษกำกับไว้) หากหมดจะได้ให้แพทย์ดูได้ง่าย หรือ ยาบางอย่างไม่สามารถซื้อเองได้ต้องให้แพทย์สั่งเท่านั้น
-ร่มพับคันเล็ก และ แว่นกันแดด บางคนอาจจะคิดว่าคงไม่ได้ใช้หรอก แต่พกไว้ไม่เสียหายค่ะ เพราะเราไม่รู้ว่าฝนจะตกเมื่อไหร่ แดดจะร้อนแค่ไหน เพราะบางทีสภาพอากาศเราก็เอาแน่เอานอนกับมันไม่ค่อยได้
-แผนที่เดินทาง แนะนำว่าให้โหลดลงมือถือไว้เลยค่ะ เราใช้ App Google Map ชื่อ “Offline Maps” สามารถดาวน์โหลดจาก App Store มาเก็บไว้ที่เครื่อง จากนั้นทำหาค้นหาชื่อเมืองที่เราต้องการจะไป —>ดาวน์โหลดไฟล์เก็บไว้ หรือจะทำการ mark จุดต่างๆในแผนที่ได้ หากเราไปเที่ยวแล้วไม่มีสัญญาณก็ยังสามารถดูแผนที่ได้ ไม่ต้องเสียเวลาไปปริ้นเป็นกระดาษ ทำให้ง่ายต่อการเดินทางมากขึ้น ประหยัดพื้นที่ในกระเป๋า ช่วยได้เยอะมากจริงๆ
หน้าตาแบบนี้ค่ะ
-กล้องถ่ายรูป ไปเที่ยวทั้งที จะไม่เก็บภาพเป็นที่ระลึกเห็นจะไม่ได้ เตรียมกระเป๋าไปต่างประเทศเสร็จแล้วอย่าลืมพกกล้องถ่ายรูปติดตัวเอาไว้จะได้ไม่พลาดบันทึกความทรงจำในการเดินทางของเราด้วย วิวงามๆ ภาพสวยๆ บรรยากาศสนุกสนานกับครอบครัวหรือเพื่อนฝูงรอเราอยู่ อีกอย่างเอากล้องถ่ายรูปไปแล้วอย่าลืมที่ชาร์ต หรือแบบเตอรี่สำรอง และ เมมโมรี่การ์ไปเผื่อนะคะ พร้อมแล้วก็กดชัตเตอร์รัวๆได้เลยค่ะ
-ใบจองโรงแรม และ ใบจองตั๋วเครื่องบิน รวมถึงแผนการเดินทาง เตรียมแยกใส่ประเป๋าเป้ หรือ กระเป๋าถือไว้ค่ะ หากจำเป็นต้องใช้จะได้หยิบได้ง่ายๆ เช่นสนามบินที่เยอรมัน เรียกดูเอกสารทุกอย่าง ณ จุดตรวจคนเข้าเมือง ถามละเอียดยิบมาก
-ของกินจากบ้านเกิด การพกของกินไปด้วยถือเป็นการประหยัดงบไปได้ส่วนหนึ่ง แต่อย่าเอาไปเยอะจนลืมไปลิ้มลองอาหารบ้านเมืองเค้านะคะจะได้รู้ว่ารสชาติเป็นอย่างไร ไม่ต้องทุกมื้อก็ได้
8. การเดินทางระหว่างเมือง เรา List ข้อมูลบริษัทมาให้สามารถเลือกและเปรียบเทียบราคาได้ตามพอใจเลยค่ะ
-การเดินทางโดยรถไฟ
http://www.bahn.com/i/view/USA/en/index.shtml
http://www.vgn.de/en/dayticket?Edition=en
https://tickets.oebb.at/en/ticket
-การเดินทางโดยรถบัส
http://czech-transport.com/index.php?menu_id=papertickets
http://www.ckshuttle.cz/bus-cesky-krumlov-transfer/
https://www.studentagency.eu/en/
http://jizdnirady.idnes.cz/vlakyautobusymhdvse/odjezdy/
9. แผนการเดินทาง
17 Feb Bangkok-Kuala Lumpur ( Airasia)
18 Feb Kuala Lumpur – Frankfurt (Oman Air)
19 Feb Frankfurt – Munich (by DB Bahn Train)
20 Feb Munich – Fussen – Munich (by DB Bahn Train)
21 Feb Munich – Prague (by DB Bahn Train)
22 Feb Prague – Pesky Krumlov (bus Student Agency)
23 Feb Cesky Krumlov – Vienna (bus CK Shuttle)
24 Feb Vienna – Budapest (bus Flixbus)
25 Feb Budapest – Salzburg (bus Orangeways and Westbahn train)
26 Feb Salzburg – Obertraun (OBB Train)
27 Feb Obertraun – Hallstatt – Milan (OBB Train)
28 Feb Milan – Bangkok (Oman Air)
29 Feb Arrived at Bangkok
ดาวน์โหลดแผนการเดินทาง เส้นทางการท่องเที่ยว รถบัส รถไฟ (กดดาวน์โหลดด้านล่าง ข้อความที่เขียนว่า “ไม่มีตัวอย่างที่ใช้ได้” ไฟล์จะขึ้นมาให้ค่ะ
https://drive.google.com/file/d/0B8cLhH3UNuhoR1o5X1JNZXRHd0k/view
สรุปค่าใช้จ่ายทั้งหมด 45,200 ถ้าไม่นับค่าใช้จ่ายตั๋วหายก็ 44,000 บาท ไม่รวมค่าของฝากค่าช้อปปิ้งนะคะ
วิวงามๆจากแต่ละเมืองที่ไปมาค่ะ
Frankfurt
Munich
Fussen
Prague
Cesky Krumlov
Vienna
Budapest
Salzburg
Hallstatt
Obertraun
Milan
ครั้งหน้าเราจะพาไปบุกตะลุยเยอรมันอย่าลืมติดตามกันนะคะ
พูดคุยกันได้ที่ : https://www.facebook.com/atravelerblog/
IG: A_Traveler_Blog
Twitter: A Traveler Blog